ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2563
เทคโนโลยีที่พัฒนา
เทคโนโลยีที่พัฒนา
1. โทรศัพท์
สมัยก่อน: เมื่อโลกรู้จักโทรศัพท์ระบบหมุนหมายเลข การโทรออกโดยใช้โทรศัพท์รุ่นเก่าขนาดใหญ่เทอะทะก็กลายเป็นเรื่องง่ายทันที
ปัจจุบัน: การโทรศัพท์โดยใช้สมาร์ทโฟนสุดบางเฉียบก็เป็นเรื่องง่ายเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น การส่งอีเมล ถ่ายรูป ท่องอินเทอร์เน็ต การหาคู่รวมถึงการบริหารจัดการชีวิตในเรื่องต่างๆ ต้องยอมรับว่า โทรศัพท์กลายเป็น “ปัจจัยที่ 5” ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ไปแล้ว
2. คอมพิวเตอร์
สมัยก่อน: คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกมีน้ำหนักประมาณ 30 ตัน ซึ่งมีขนาดใหญ่เทียบเท่ากับบ้านหนึ่งหลัง อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีนี้นับว่าเป็นวิวัฒนาการที่ก้าวล้ำที่สุดในขณะนั้น ทั้งนี้คอมพิวเตอร์ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเชิงคณิตศาสตร์ที่หลากหลาย ด้วยความสามารถในการคำนวณและประมวลผลคำสั่งได้หลายพันคำสั่งต่อวินาที
ปัจจุบัน: คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีน้ำหนักแค่ 2 กิโลกรัมและยังสะดวกในการพกพาไปยังที่ต่างๆ คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันถูกใช้มากกว่าการแก้ไขปัญหาเชิงคณิตศาสตร์และยังประมวลผลคำสั่งได้หลายพันล้านคำสั่งต่อวินาที
3.โดรน
สมัยก่อน: การถ่ายภาพจากมุมสูงจำเป็นต้องใช้รถเครน กล้องและความกล้าหาญเป็นอย่างมาก
ปัจจุบัน: โดรนได้เข้ามามีบทบาทต่อมนุษย์ โดรนเป็นอุปกรณ์ไร้คนขับที่ใช้ถ่ายภาพจากกลางอากาศ สามารถบินได้สูงกว่า 1 กิโลเมตร ในขณะเดียวกันก็สามารถรักษากล้องให้อยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ที่สำคัญกว่านั้น คือ โดรนช่วยให้มนุษย์ปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยงอันตรายอีกต่อไป
4. กล้อง
สมัยก่อน: การถ่ายภาพนิ่งให้สวยสมบูรณ์แบบต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10 นาที เพื่อจัดเตรียมกล้อง และอีก 1 วันเพื่อล้างฟิล์ม
ปัจจุบัน: ภายในระยะเวลาเพียง 10 นาที มนุษย์สามารถถ่ายรูปมุมสวยๆ กว่า 500 รูป และสามารถดูรูปภาพได้ทันที
5. เครื่องยนต์
สมัยก่อน: เครื่องยนต์ในสมัยโบราณถูกจดจำด้วยขนาด ทั้งนี้เราสามารถยืนยันข้อเท็จจริงดังกล่าวด้วยเครื่องยนต์ V8 ของฟอร์ดในปี พ.ศ. 2475 ที่มีน้ำหนักกว่า 230 กิโลกรัม มาพร้อมพละกำลัง 48 กิโลวัตต์
ปัจจุบัน: วลีที่กล่าวว่า “ยิ่งใหญ่ยิ่งดี” ได้สิ้นสุดลงและเครื่องยนต์อีโค่บูสท์ 1.0 ลิตรของฟอร์ดได้ยืนยันถึงข้อเท็จจริงนี้ แต่อย่าให้ขนาดของเครื่องยนต์หลอกคุณ แม้เครื่องยนต์จะมีน้ำหนักแค่ 97 กิโลกรัม ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าครึ่งของเครื่องยนต์รุ่นบุกเบิกในปี พ.ศ. 2475 แต่เครื่องยนต์อีโค่บูสท์สามารถส่งกำลังได้มากกว่าสองเท่าซึ่งแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพจิ๋วแต่แจ๋วอย่างแท้จริง
6. เซลฟี่
สมัยก่อน: การถ่ายเซลฟี่เริ่มได้รับความนิยมในปี พ.ศ. 2468 แต่อย่างไรก็ดีการถ่ายเซลฟี่สามารถถ่ายได้ที่ตู้ถ่ายรูปเท่านั้น
ปัจจุบัน: กล้องถ่ายเซลฟี่ได้ถูกพัฒนาขึ้น พร้อมที่จะถ่ายรูปทุกขณะและยังมากับฟังก์ชั่นลบเลือนริ้วรอยต่างๆ ที่ไม่พึงปรารถนาเพียงแค่คลิกปุ่มเดียว
7.ฮาร์ดไดรฟ์
สมัยก่อน: ในยุค 50 ข้อมูลคอมพิวเตอร์ถูกบันทึกลงม้วนเทปแม่เหล็กและเทปหนึ่งม้วนสามารถบันทึกข้อมูลได้เพียง 2 เมกะไบต์
ปัจจุบัน: ยูเอสบีแฟลชไดร์ฟสามารถบรรจุข้อมูลได้ถึง 512 กิกะไบต์ ซึ่งเทียบเท่ากับม้วนเทปจากศตวรรษที่ 50 ถึง 256,000 ม้วน
8. วิทยุ
สมัยก่อน: หากต้องการฟังเพลงโปรดในศตวรรษที่ 20 คุณจะต้องรีบกลับบ้านเพื่อรับฟังเพลงจากวิทยุท้องถิ่นเท่านั้น
ปัจจุบัน: เราสามารถรับฟังทุกอย่างได้ทุกที่ทุกเวลาแม้ในขณะวิ่งออกกำลังกาย ไม่ว่าจะเป็น การฟังเพลงแบบสตรีมมิ่ง พ็อดคาสท์ หรือวิทยุดิจิตอล
9. เครื่องคิดเลข
สมัยก่อน: ในศตวรรษที่ 20 เครื่องคิดเลขเชิงกลอันแสนหนักอึ้งมีประสิทธิภาพในการคำนวณบวกลบเลขอย่างง่าย
ปัจจุบัน: นักคณิตศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรใช้เครื่องคิดเลขทางวิทยาศาสตร์ขนาดพกพาเพื่อคำนวณสมการอย่างเช่น max┬(0≤x≤1)〖xe^(-x^42 ) 〗 lim┬(n→∞)〖(8+1/n)^n 〗
10. เครื่องอัดเสียง
สมัยก่อน: หากมีบางสิ่งที่สำคัญต้องพูดในปี พ.ศ. 2463 เครื่องอัดเสียงในยุคนั้นสามารถบันทึกเสียงได้ 1,200 คำ
ปัจจุบัน: เครื่องอัดเสียงแบบพกพาสามารถบันทึกได้สูงถึง 1,200 ชั่วโมง หมายความว่ามนุษย์สามารถบันทึกทั้งสิ่งที่สำคัญและสิ่งที่ไม่สำคัญได้อย่างยาวนานต่อเนื่อง
เทคโนโลยีได้เข้าไปมีบทบาทต่อวิถีชีวิตผู้คนและสังคมในรูปแบบต่าง ๆ
เทคโนโลยีได้เข้าไปมีบทบาทต่อวิถีชีวิตผู้คนและสังคม
1. ด้านการศึกษา
มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยสอน (CAI)โดยทำเป็นสื่อประสม (Multimedia)มีระบบการเรียนการสอนทางไกล (Tele-Education)มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น นักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติจริงได้มากขึ้น สำหรับโรงเรียนมัธยม ก็มีการจัดการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดให้เป็นรายวิชาเลือก ในระดับวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัย มีเปิดสอนสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
2. ด้านการแพทย์
เริ่มตั้งแต่การจัดทำประวัติคนไข้ ไปจนถึงการออกใบเสร็จรับเงิน การพิมพ์ฉลากยา ก็ยังใช้ระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะพิมพ์ใส่กระดาษกาวไว้ก่อน เมื่อจะส่งให้คนไข้ก็ติดที่ขวดหรือถุงยา จะได้ไม่ผิดพลาดในการให้ยาตรงตามแพทย์สั่ง บางแห่งให้แพทย์สั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลดความผิดพลาดในการตีความหมายจากลายมือของแพทย์ นอกจากนี้บางแห่งยังมีการรักษาทางไกลโดยผ่านดาวเทียมสื่อสารความเร็วสูง ที่แพทย์ต่างประเทศ สามารถมองเห็นคนไข้ ในประเทศไทย และให้คำแนะนำ ในการรักษาผ่าตัดทันที แต่ไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก
3. ด้านการธนาคาร
มีการให้บริการฝาก-ถอนเงิน โอนเงิน ซึ่งมีมานานแล้ว และในปัจจุบันนี้เริ่มมีระบบe-bankingโดยสามารถใช้โทรศัพท์มาทำรายการที่ธนาคารได้ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาที่ธนาคาร นอกจากนี้ ให้บริการบัตรเครดิต อีกหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถถอนเงินที่ตู้ATMที่ใดก็ได้
4. ด้านห้องสมุด
การให้บริการยืม-คืนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นลักษณะที่ต้องยืมผ่านเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งจะป้อนข้อมูลการยืม เข้าไป หรือใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง(Bar code) และเมื่อคืนหนังสือก็ต้องผ่านเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์เช่นเดิม หลายแห่ง เปลี่ยนมาใช้การฝังแถบแม่เหล็กเข้าไปในหนังสือ และมีเครื่องตรวจจับหนังสือที่ถูกนำออกห้องสมุดโดยที่ยังไม่ถูกยืม เพื่อป้องกัน หนังสือสูญหาย
5. ด้านการรถไฟแห่งประเทศไทย
แต่เดิมจะไม่สะดวกกับผู้ซื้อเพราะซื้อตั๋วที่ไหนจะต้องขึ้นรถไฟที่นั่น แต่ในปัจจุบันมีบริการซื้อตั๋วด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถจะซื้อตั๋วที่สถานีใดก็ได้ กำหนดสถานีต้นปลายทาง ปลายทางได้อย่างอิสระ สามารถซื้อตั๋วล่วงหน้าได้มากกว่าเดิม และมีบริการเสริมขึ้นมากมาย เช่น สามารถคืนตั๋วก่อนออกเดินทางที่สถานีใดก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบที่นั่ง ว่าว่างหรือไม่ว่าง ทำได้ทันที ทำให้ไม่เกิดการซื้อตั๋วซ้อนกัน ช่วยลดความผิดพลาดได้มาก และเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ในการให้บริการ
6. ด้านธุรกิจ
บริษัท ห้างร้านส่วนใหญ่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระดับผู้ใช้งานโปรแกรม (Users)ซึ่งจะต้องใช้โปรแกรมที่มีใช้ในสำนักงานได้ เช่น โปรแกรมพิมพ์เอกสาร
1. ด้านการศึกษา
มีการนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยสอน (CAI)โดยทำเป็นสื่อประสม (Multimedia)มีระบบการเรียนการสอนทางไกล (Tele-Education)มีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เพิ่มมากขึ้น นักเรียน นักศึกษา ได้มีโอกาสเรียนรู้และปฏิบัติจริงได้มากขึ้น สำหรับโรงเรียนมัธยม ก็มีการจัดการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์ โดยกำหนดให้เป็นรายวิชาเลือก ในระดับวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัย มีเปิดสอนสาขาคอมพิวเตอร์ศึกษา
2. ด้านการแพทย์
เริ่มตั้งแต่การจัดทำประวัติคนไข้ ไปจนถึงการออกใบเสร็จรับเงิน การพิมพ์ฉลากยา ก็ยังใช้ระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะพิมพ์ใส่กระดาษกาวไว้ก่อน เมื่อจะส่งให้คนไข้ก็ติดที่ขวดหรือถุงยา จะได้ไม่ผิดพลาดในการให้ยาตรงตามแพทย์สั่ง บางแห่งให้แพทย์สั่งยาผ่านระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อลดความผิดพลาดในการตีความหมายจากลายมือของแพทย์ นอกจากนี้บางแห่งยังมีการรักษาทางไกลโดยผ่านดาวเทียมสื่อสารความเร็วสูง ที่แพทย์ต่างประเทศ สามารถมองเห็นคนไข้ ในประเทศไทย และให้คำแนะนำ ในการรักษาผ่าตัดทันที แต่ไม่เป็นที่นิยม เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก
3. ด้านการธนาคาร
มีการให้บริการฝาก-ถอนเงิน โอนเงิน ซึ่งมีมานานแล้ว และในปัจจุบันนี้เริ่มมีระบบe-bankingโดยสามารถใช้โทรศัพท์มาทำรายการที่ธนาคารได้ ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางมาที่ธนาคาร นอกจากนี้ ให้บริการบัตรเครดิต อีกหลากหลายประเภท ซึ่งสามารถถอนเงินที่ตู้ATMที่ใดก็ได้
4. ด้านห้องสมุด
การให้บริการยืม-คืนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ จะเป็นลักษณะที่ต้องยืมผ่านเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ ซึ่งจะป้อนข้อมูลการยืม เข้าไป หรือใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง(Bar code) และเมื่อคืนหนังสือก็ต้องผ่านเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์เช่นเดิม หลายแห่ง เปลี่ยนมาใช้การฝังแถบแม่เหล็กเข้าไปในหนังสือ และมีเครื่องตรวจจับหนังสือที่ถูกนำออกห้องสมุดโดยที่ยังไม่ถูกยืม เพื่อป้องกัน หนังสือสูญหาย
5. ด้านการรถไฟแห่งประเทศไทย
แต่เดิมจะไม่สะดวกกับผู้ซื้อเพราะซื้อตั๋วที่ไหนจะต้องขึ้นรถไฟที่นั่น แต่ในปัจจุบันมีบริการซื้อตั๋วด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถจะซื้อตั๋วที่สถานีใดก็ได้ กำหนดสถานีต้นปลายทาง ปลายทางได้อย่างอิสระ สามารถซื้อตั๋วล่วงหน้าได้มากกว่าเดิม และมีบริการเสริมขึ้นมากมาย เช่น สามารถคืนตั๋วก่อนออกเดินทางที่สถานีใดก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตรวจสอบที่นั่ง ว่าว่างหรือไม่ว่าง ทำได้ทันที ทำให้ไม่เกิดการซื้อตั๋วซ้อนกัน ช่วยลดความผิดพลาดได้มาก และเพิ่มความสะดวก รวดเร็ว ในการให้บริการ
6. ด้านธุรกิจ
บริษัท ห้างร้านส่วนใหญ่ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ทั่วไป ระดับผู้ใช้งานโปรแกรม (Users)ซึ่งจะต้องใช้โปรแกรมที่มีใช้ในสำนักงานได้ เช่น โปรแกรมพิมพ์เอกสาร
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีตั้งต้น
ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีตั้งต้น
ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งถือว่าเป็นยุคเทคโนโลยีสารสนเทศ เกิดการเปลี่ยนแปลงของโลกในหลายๆด้านทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมอันนำไปสู่การปรับตัวเพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์ทุกประเทศทั่วโลกกำลังมุ่งสู่กระแสใหม่ของการเปลี่ยนแปลงที่เรียกว่า สังคมความรู้ (KnowledgeSociety) และระบบเศรษฐกิจฐานความรู้ (Knowledge-Based Economy) ที่จะต้องให้ความสำคัญต่อการใช้ความรู้และนวัตกรรม (Innovation) เป็นปัจจัยในการพัฒนาและการผลิตมากกว่าการใช้เงินทุนและ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งประกอบกันเป็น “สารสนเทศ” นั้น สามารถลื่นไหลได้สะดวก รวดเร็ว จนสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไปถึงระดับองค์กรอุตสาหกรรม ภาคสังคม ตลอดจนในระดับประเทศและระหว่างประเทศ จนกระทั่งภาวะ “ไร้พรหมแดน” อันเนื่องมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในกิจกรรมและวงการต่างๆ และนับเป็นความกลมกลืนสอดคล้องกันอย่างยิ่ง ที่การพัฒนาบุคลากรในสังคมอันประกอบด้วยภาคการศึกษา และการฝึกอบรมเป็นเรื่องราวของการเรียนรู้สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information)ก็ตาม
การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบท ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ในลักษณะ เศรษฐศาสตร์เครือข่าย หรือที่เรียกว่า (networked economy) มีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว(เพียงแค่กดเม้าส์ของคอมพิวเตอร์)เสมือนดังไม่มีพรมแดนของประเทศ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ ทาง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ระหว่างประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ ส่งผลให้โลกมีสภาพ เหมือนเป็นหนึ่งเดียว มีการแข่งขันสูงผลกระทบในวงกว้าง (systemic and dynamism ) ต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนที่ทำไห้ทรัพยากรมนุษย์เกิดการปรับตัวพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่อยู่ในโลกเศรษฐกิจใหม่
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้ ซึ่งประกอบกันเป็น “สารสนเทศ” นั้น สามารถลื่นไหลได้สะดวก รวดเร็ว จนสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง ตั้งแต่ระดับบุคคลขึ้นไปถึงระดับองค์กรอุตสาหกรรม ภาคสังคม ตลอดจนในระดับประเทศและระหว่างประเทศ จนกระทั่งภาวะ “ไร้พรหมแดน” อันเนื่องมาจากอิทธิพลของเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าว ได้เกิดขึ้นในกิจกรรมและวงการต่างๆ และนับเป็นความกลมกลืนสอดคล้องกันอย่างยิ่ง ที่การพัฒนาบุคลากรในสังคมอันประกอบด้วยภาคการศึกษา และการฝึกอบรมเป็นเรื่องราวของการเรียนรู้สารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นข้อมูล (Data) ข่าวสาร (Information)ก็ตาม
การพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบท ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ในลักษณะ เศรษฐศาสตร์เครือข่าย หรือที่เรียกว่า (networked economy) มีการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว(เพียงแค่กดเม้าส์ของคอมพิวเตอร์)เสมือนดังไม่มีพรมแดนของประเทศ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างความสัมพันธ์ ทาง เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ระหว่างประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ ส่งผลให้โลกมีสภาพ เหมือนเป็นหนึ่งเดียว มีการแข่งขันสูงผลกระทบในวงกว้าง (systemic and dynamism ) ต่อผู้ผลิต ผู้บริโภค อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน และนั่นเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนที่ทำไห้ทรัพยากรมนุษย์เกิดการปรับตัวพัฒนาให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่อยู่ในโลกเศรษฐกิจใหม่
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)